วัดพระนอน (แพร่)

วัดพระนอน (แพร่)

วัดพระนอน : บันทึกที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นบันทึกที่ได้จาก การบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดพระนอน รูปปัจจุบัน คือ ท่ารพระครู นิพันพธ์กิจจาทร ซึ่งท่านได้เล่าไว้ดังนี้ ท่านพระครูได้พบตำนานวัด พระนอนจากหนานขัดซึ่งเป็นคนเชียงใหม่และเคยอยู่วัดพระสิงห์ ได้พบตำนานวัดพระนอนจากใบลานซึ่งได้บันทึก เกี่ยวกับวัดพระนอน ไว้ว่าวัดพระนอนสร้างโดยเจ้าพระยาชัยชนะสงครามและพระนางเจ้า อู่ทองศรีพิมพา เมื่อ จ.ศ.๒๓๖ (ปีจุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๑ (ค.ศ. ๖๓๘) นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุม กษัตริย์ในล้านนา)ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย ์ทำการลบศักราชปี มหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปี ที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ

เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก ๑๑๘๑ ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่) แต่เดิมนั้นวัดนี้มีพระพุทธรูปปางไสยาสส์ คือพระนอนซึ่งองค์จริงนั้นเป็นหินยาวขนาด หกศอกต่อมาเจ้าปู่ท้าวคำซึ่งเป็นพระอัยกาของพระยาชัยชนะสงครามเห็นว่าไม่ปลอด ภัยจึ่งได้สั่งให้น้างพระนอนองค์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้และช่วยกันตกแต่งพระพุทธรูป นอนองค์ใหม่ให้สวยงามพอดีมีกองทัพพม่าเข้ามารุกรานเมืองโกศัยชาวเมืองก็ตื่นกลัว พากันอพยพหลบลี้ตามป่าเขาโดยยังมิทันได้ฉลองพระพุทธรูปนอนเจ้าพระยาชัยชนะ สงครามเห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงตรัสสั่งมเหสีว่า”ดูกร เจ้าพิมพา ศึกมาถึงบ้านเมืองแล้ว ความแตกตื่นย่อมมีดังนี้ ขอให้สร้างให้เสร็จแล้วทำบุญวันรุ่งขึ้นของวันใหม่ แล้วเจ้าชัยชนะสงครามก็ออกศึกและสวรรคตในสนามรบ น้องชื่อท้าวยาสิทธิ์แสนหาญ ออกรบสู้พม่าก็หายสาบสูญอีก นางพิมพาจึงได้ลงมือสร้างวัดพระนอน เจดีย์ขึ้นแล้วจารึกในแผ่นทองคำเป็นตัวหนังสือพื้นเมืองเหนือว่า” วัดพระนอนนี้ให้มีการนมัสการไหว้สาในเดือน เจ็ดใต้เดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ดังนั้นวัดพระนอนจะมีงานนมัสการในวันดังกล่าวทุกปี

เมื่อนครโกศัยไม่มีเจ้าปกครองเมืองได้ละทิ้งวัดพระนอนเป็นวัด ร้างเป็นเวลานานเท่าได้ไม่ปรากฏมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นคลุม บริเวณวัดมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ที่ชื่อว่าผักหละ หรือผักชะอมขึ้น ปกคลุมพรนอนเป็นเวลานานจนบริเวณนั้นกลายเป็นป่าต่อมามี พ่อค้าต่างเมืองเดินทางมาค้างแรมบริเวณดังกล่าวเห็นผักหละ งามดีจึงเอาไปเป็นอาหารและได้พบก้อนอิฐอยู่ทั่วไป พวกพ่อ ค้าจึงสงสัยว่าเป็นวัดร้างและนำความไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ชาว บ้านก็แตกตื่นช่วยกันหักล้างถางพง พบต้นไม้ใหญ่เป็นต้นมะม่วง ขึ้นปกคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม ชาวบ้านเกิดศรัทธาจึงช่วยกัน บูรณะซ่อมแซมให้สวยงามและแข็งแรงและได้ตั้งชื่อว่าวัดเสียใหม่ว่า “วัดต้นม่วง”และในการบูรณะครั้งนั้นได้พบแผ่นทองคำจารึกของพระ นางพิมพาจึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำนั้นนั้นแต่เดิมคือวัดพระนอนและสัน นิษฐานว่าวัดพระนอนนี้ได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ทั้งนี้โดยถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลักวัดพระนอนเป็น ปูชนียสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ ได้รับเกรียติจากทาง จังหวัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองแพร่ วัดพระนอน ได้สรับการประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๑๓๒๐ ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๓๖โดยสิ่งก่อสร้าง ที่มีอยู่ ในบริเวณวัดพระนอนได้แก่
๑.อุโบสถซึ่งสร้างแบบสมัยเชียงแสนไม่มีการเจาะหน้าต่างแต่ทำผนังเป็นช่องแสงแทน สำหรับลวดลายหน้านั้นเป็นลวด ลายแบบอยุทธยาตอนปลายผูกเป็นลายก้านขดและ มีภาพรามเกียรติ์ประกอบ
๒.วิหารซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างเช่นเดียวกับอุโบสถแต่การตกแต่งบริเวณ ชายคาเป้นไม้ฉลุโดยรอบและหลังคาประดับด้วย ไม้แกะสลักเป็นรูปพระยานาคบริเวณหน้าจั่ว
๓.พระพุทธรูปนอนปางสีหไสยาสน์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น มีความยาว ๕ เมตร ลงรักปิดทองตลอดองค์
๔.เจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำรูป ๘ เหลี่ยม มีประพุทธรูปอยู่ ๔ ด้าน “วัดพระนอนแต่ก่อนเก่ากาล มีแต่นานเนื่องมาน่านับถือ มีประวัติสืบเล่า เขาเลื่องลือ ว่าเคยชื่อ “ม่วงคำ” จำมานาน อนุชนรุ่นหลังรับฟังไว้ จงภูมใจซึ่งคุณค่ามหาศาล มรดกตกทอดตลอดกาล อยู่คู่บ้านเมืองแพร่แต่นี้เทอญ”

[mappress mapid=”483″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *