วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล

วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล

ถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำผลึกแคลไซต์ ที่ประกอบด้วยหินในตระกูลคาร์บอเนต ชนิดแอนไฮดรัสคาร์บอเนต ที่มีความใสกาวบริสุทธิ์มีรูปลักษณ์หลากหลายลักษณะ มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ ส่วนใหญ่เป็นรูปหกเหลี่ยมยาวยอดแหลมหรือรูปสี่แหลมขนมเปียกปูน มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 3 แนว
เป็นสิ่งที่พบได้ยากในธรรมชาติ เพราะต้องมีองค์ประกอบที่ครบทั้ง หินปูน ไอน้ำร้อนที่ได้จะน้ำพูร้อนธรรมชาติ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ไอสารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนตที่กลั่นตัวในอุณหภูมิสูงสุดและต้องอิ่มตัวในอุณหภูมิที่ต่ำสุด

ถ้ำแก้วโกมลได้รับยกย่องว่าเป็นถ้ำที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในถ้ำผลึกแร่แคลไซต์ที่ค้นพบเพียง 3 แห่งทั่วโลก คือพบที่ ประเทศจีน ประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย

ห้องต่างๆ ใน ถ้ำแก้วโกมลซึ่งมีอยู่ภายในถ้ำ จำนวน 5 ห้อง
เริ่มจากห้องแรก “พระทัยธาร”
มีที่มาจากการที่น้ำในถ้ำ ละลายกับหินปูนทำให้เกิดภาพน้ำไหลเหมือนเป็นธารน้ำตก พระทัยธารซึ่งเป็นห้องแรกนี้ เป็นห้องที่ได้รับความเสียหายจากการระเบิดอุโมงค์มากที่สุด
สังเกตได้จากเศษหินที่กระจัดกระจายอยู่ภายใน มีโพรงที่จากการทำเหมืองตามสายแร่ฟลูออไรต์ หินงอก หินย้อยต่างๆได้รับความเสียหายจากการสำรวจไปมาก จึงไม่งดงามมากนัก ความงามของห้องที่ก็คงจะมีเพียงร่องรอยลวดลายสายน้ำตกอันเป็นที่มาของชื่อห้องเท่านั้น

ถัดมาเป็นห้องที่ 2 มีชื่อพระราชทานว่า “วิมานเมฆ”
ตั้งตามลักษณะของแร่ที่อยู่ตามเพดาน ซึ่งดูคล้ายปุยเมฆเป็น ห้องนี้มีลักษณะเป็นช่องยาว บางช่วงเป็นรูแคบ ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของโพรงน้ำไหลในอดีต ทำให้มีความลำบากในการเดินสำรวจ มีหินงอก หินย้อย และบางจุดมีผลึกแร่แคลไซต์เกาะอยู่แต่มีความงดงามไม่มากนัดเนื่องจาก ผลึกบางส่วนได้แตกหักเสียหายและมีรอยเปื้อนจากการถูกจับต้องระหว่างการเข้าสำรวจ

ลึกเข้าไปเป็นห้องที่ 3 ชื่อพระราชทานว่า “เฉกหิมพานต์”
เกิดจากจินตนาการขององค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงทอดพระเนตรแล้วเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์ตามวรรณคดีไทย ห้องนี้เป็นห้องขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อย สีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาล

สำรวจต่อไปจะพบห้องที่ 4 ที่มีชื่อพระราชทานอันเพราะพริ้งว่า “ม่านผาแก้ว”
ภายในห้องนี้เราจะเริ่มเห็นความ งดงามที่เต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ สีดั่งแก้วใสขาวเกาะอยู่ราวกับม่านเต็มถ้ำ มีทั้งแบบที่คล้ายปะการัง คล้ายเข็ม และเกล็ดน้ำแข็ง ผลึกทั้งสามแบบมีความเปราะบางที่สุด ได้รับผลกระทบจากอากาศภายนอกจนลดน้อยลงไปมาก ส่วนผลึกรูปปะการังเป็นผลึกขนาดเล็กละเอียด จับตัวต่อเนื่องเป็นผืนจนเต็มผนังอย่างสวยงาม พบตอนในสุดของห้อง

และส่วนชั้นในสุดคือห้องที่ 5 มีชื่อพระราชทานว่า “เพริศแพร้วมณีบุปผา”
ซึ่งโดดเด่นไปด้วยผลึกแร่มีความละเอียดเป็นรูปเข็มคล้ายเกล็ดน้ำแข็ง เปราะบาง แตกหักง่าย จัดเป็นผลึกที่ สวยงามและเด่นที่สุดของถ้ำ (เป็นจุดที่ได้รับการโปรโมตจากททท.) ห้องนี้เป็นห้องสุดท้ายโดยพบอยู่ด้านในสุด เป็นห้องที่สวยงามที่สุดของถ้ำ
เนื่องจากมีผลึกแร่แคลไซต์ที่มีความสมบูรณ์เป็นจำนวนมากและมีรูปแบบหลากหลาย โดยเฉพาะผลึกแร่แคลไซต์รูปเข็มและคล้ายปะการัง ห้องนี้นอกจากอยู่ลึกที่สุด สวยงามที่สุดแล้ว อากาศยังน้อยด้วย ไม่ถ่ายเท

ที่ตั้ง :
ตั้งอยู่บริเวณเขาดอยถ้ำ หมู่ที่ 14 บ้านห้วยมะไฟหรือห้วยหมากไฟ ตำบล แม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58120 ในเขตประทานบัตรเหมืองแร่ฟลูออไรต ์ เลขที่ 12627/13903 ของ ห้างหุ้นส่วน พี.วี. ซัพพลายส์ (ไทยแลนด์) อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาต ิป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย ตำแหน่งถ้ำสามารถระบุในแผนที่ภ
ช่วงเวลาที่สามารถเข้าชม :
ถ้ำแก้วโกมล ได้คือระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุด โดยทางวนอุทยานฯจะจัดเจ้าหน้าที่ 1 คนเป็นผู้นำชมและคอยให้ข้อมูล ตลอดจนตอบข้อสักถามต่างๆ ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะเข้าเที่ยวชม คือ ช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ของแต่ละปี เนื่องจากเส้นทางเข้า-ออกจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ไม่ลื
อัตราค่าบริการ :
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ราคานี้ไม่รวมอัตราค่ารถบริการรับ-ส่งขึ้นสู่ถ้ำที่ต้องเสีย
การเดินทาง :
เดินทางโดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายแม่ฮ่องสอน – แม่สะเรียง ซึ่งเป็นถนน ลาดยางขนาด 2 เลน เมื่อถึงอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลอำเภอ แม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เลี้ยวซ้ายเข้าทางไปบ้านห้วยมะไฟ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามถนนคอนกรีตกว้าง 4 เมตร ประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนเลี้ยวขวาไปตามทางลูกรังซึ่งลัดเลาะตามไหล่เขาที่มีสภาพสูงชันอีกประมาณ 500 เมตร จะถึงป

[mappress mapid=”433″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *